งานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาของทุกปี เริ่มมีการทำต้นเทียนประกวดกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานีได้รับการส่งเสริมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ในงานมีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์และแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่าง ๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามมาตามถนน จนมาสิ้นสุดที่ทุ่งศรีเมือง มีการแสดงสมโภชต้นเทียนครึกครื้นสว่างไสวไปทั่วทั้งงาน
อันดับ 2 งานประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปอยส่างลองคือประเพณีบรรพชาสามเณรตามแบบไทยใหญ่ ที่เชื่อกันว่าได้กุศลมากกว่าอุปสมบทพระภิกษุงานมี 3 วัน โดยในวันแรก เด็กชายที่เข้าพิธีเรียกว่า "ส่างลอง" จะโกนผม แต่ไม่โกนคิ้ว ผัดหน้าทาปาก แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงาม โพกหัวประดับประดาดอกไม้ ไปขอขมารับพรจากญาติผู้ใหญ่วันที่สอง จะแห่ส่างลองขี่ม้าหรือขี่คอพี่เลี้ยงพ้อมเครื่องไทยทานไปตามถนนแล้วในวันที่สาม จึงแห่ส่างลองไปยังวัด เพื่อทำพิธีบวชต่อไป แต่เติมงานนี้จัดกัน เฉพาะหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย กระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ในอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนได้จัดให้มีบรรพชาหมู่ 200 รูป เนื่องในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี กลายเป็นงานใหญ่ที่นักท่องเที่ยวสนใจ นับแต่นั้นจึงจัดเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จนถือเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองแม่ฮ่องสอน
อันดับ 3 งานเทศกาลสงกรานต์ จังหวัดเชียงใหม่
สงกรานต์เมืองเชียงใหม่ขึ้นชื่อในความยิ่งใหญ่ งดงามด้วยขบวนแห่แหน ซึ่งวัดต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่จะอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด จัดเป็นขบวนยาวเหยียด เช่น ขบวนพระสิงห์ ขบวนพระแก้วขาว เป็นต้น พระพุทธรูปแต่ละองค์เก่าแก่อายุ 700 – 1,000 ปี ผ่านกลางเมืองมาให้คนได้ทำพิธีสรงน้ำพระด้วยน้ำหอม นอกจากนั้นยังมีทำเลสะดวกในการเล่นน้ำ เพราะมีคูน้ำล้อมรอบเมืองเก่าเป็นแหล่งน้ำให้สาดน้ำกันได้เต็มที่ จึงไม่น่าแปลกใจที่สงกรานต์เชียงใหม่ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวแน่นชนิดไปทั้งเมืองตลอดช่วงวันหยุดยาวเลยทีเดียว
อันดับ 4 งานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนหก เป็นงานบุญที่จัดประจำทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนจะลงมือทำนา ที่จังหวัดยโสธรจะจัดงานบุญบั้งไฟในวันสุดสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ในวันศุกร์เป็นวันที่คณะบั้งไฟทั้งหลายแห่ขบวนเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคเงินซื้ออาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของจำเป็นสำหรับทำบุญ ส่วนวันเสาร์จะเป็นวันแห่ขบวนฟ้อนรำ เพื่อการแข่งขัน เน้นความสวยงามของท่าฟ้อนในจังหวะต่าง ๆ ตลอดทั้งการตกแต่งบั้งไฟและการจัดขบวนที่สวยงาม ท้ายสุดในวันอาทิตย์จะเป็นวันจุดบั้งไฟ แข่งขันความสูงของบั้งไฟที่ขึ้นไปบนฟ้า บั้งไฟที่สามารถลอยอยู่ในอากาศได้สูงและนานจะชนะการแข่งขัน เป็นงานเทศกาลประเพณีที่ครึกครื้นและสนุกสนาน
อันดับ 5 งานประเพณีแห่ผีตาโขน จังหวัดเลย
งานบุญหลวงอันมีเอกลักษณ์เป็นที่รู้จักกันดี คือการละเล่นผีตาโขน งานประเพณีที่มีการจัดกันมาหลังจากการก่อสร้างพระธาตุศรีสองรักไม่นาน ถือเป็นหนึ่งในฮิตสิบสองคองสิบสี่ของภาคอีสาน การแห่ผีตาโขนเป็นประเพณีจำลองเหตุการณ์ในชาดกเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีเดินทางกลับออกจากป่าเข้าสู่เมือง บรรดาผีป่าหลายคนและสัตว์ นานาชนิดอาลัยรัก จึงพากันแห่แหนมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า "ผีตามคน" ก่อนเพี้ยนมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน ผีตาโขนในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ประเภท คือ ผีตาโขนใหญ่ เป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สาน สูงใหญ่กว่าคนธรรมดา 2 เท่า มีเพียง 2 ตัว คือ ผีตาโขนชาย 1 ตัว และหญิง 1 ตัว ส่วนผีตาโขนเล็กใช้วิธีประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาให้เป็นผีด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
อันดับ 6 งานแสดงช้าสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
งานแสดงช้างครั้งแรกจัดขึ้นที่สนามบินเก่า อำเภอท่าตูม อันเป็นที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว การคล้องช้าง โดยออกข่าวแพร่ภาพทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจกันเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อ.ส.ท. (ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุน โดยร่วมกำเนิดรูปแบบของการแสดง และนำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาร่วมชมการแสดงในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานข้างเป็นงานประจำปีของชาติ และเนื่องจากการจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยว จึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาจัดงานที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
อันดับ 7 งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร
งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ต้นกำเนิดมาจากคติความเชื่อในสมัยโบราณ คือการทำทานที่อยู่อาศัยและการถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธเจ้าของพญาวานรในพุทธประวัติ ความเชื่อทั้งสองเรื่องเป็นที่มาของประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง โดยในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ให้เป็นวันโฮม หรือวันรวมปราสาทผึ้งจากคุ้มต่าง ๆ ที่บริเวณวัด พร้อมกับมีการจัดงานรื่นเริง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ปัจจุบันการทำปราสาทผึ้งและขบวนแห่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ทั้งรูปทรงของตัวปราสาทผึ้งและลวดลายประดับประดาได้เพิ่มความวิจิตรพิสดารขึ้น ขบวนแห่ที่เคยใช้เกวียนก็กลายเป็นรถยนต์ สถานที่รวมขบวนก็เปลี่ยนจากบริเวณวัดมาอยู่ที่สนามมิ่งเมือง แต่ละปีจะมีขบวนแห่ยาวเป็นสิบกิโลเมตร ในขบวนยังมีการแสดงเกี่ยวกับประเพณีโบราณและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน
อันดับ 8 กิจกรรมล่องแก่งหินเพิง จังหวัดปราจีนบุรี
กิจกรรมล่องแก่งหินเพิงกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีเฉพาะในช่วงฤดูฝน ในแก่งหินเพิงซึ่งถือกำเนิดเกิดจากลำน้ำใส่ใหญ่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สิ้นสุดที่ปลายน้ำ ณ ตำบลสะพานหิน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี โดยนักท่องเที่ยวต้องลงเรือยางซึ่งนั่งได้ลำละประมาณ 8 - 10 คน ผ่านแก่งต่าง ๆ ที่มีระดับความยากง่ายของสายน้ำอยู่ที่ระดับ 3 - 5 ใช้ฝีมือและทักษะในการพาย รวมทั้งร่วมแรงร่วมใจช่วยกันพายอย่างระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพื่อให้รอดพ้นจากการปะทะกับแก่งหินและไม่ให้เรือพลิกคว่ำ สนุกสนานกับลำธารใสที่สามารถแวะพักเหนื่อยเล่นน้ำกันได้ในบางจุดที่มีกระแสน้ำเบา โดยแก่งทั้ง 6 แก่ง ได้แก่ แก่งหินเพิง แก่งวังหนามล้อม แก่งวังบอน แก่งลูกเสือ แก่งวังไทร และแก่งงูเห่า และจะถึงจุดหมายปลายทางที่ท่าเรือบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ขญ. 9
อันดับ 9 งานเทศกาลกินเจ จังหวัดภูเก็ต
ประเพณีกินเจชาวภูเก็ต เรียกว่างานกินผัก หรือเจี๊ยะฉ่าย จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน ซึ่งตรงกับเดือน 10 ของไทย เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวภูเก็ตซึ่งได้รับอิทธิพลจากจีน เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ผู้ร่วมพิธีจะสวมชุดขาว งดการบริโภคเนื้อสัตว์และผักที่มีกลิ่นฉุนด้วย เริ่มมีขึ้นครั้งแรกที่อำเภอกะทู้ในปี พ.ศ. 2368 เมื่อพระยาถลาง (เจิม) ย้ายเมืองถลางมาตั้งที่บ้านเก็ตโฮ่ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ดีบุก แต่เป็นป่าทึบ มีไข้ป่าชุกชุม ชาวเมืองล้มป่วยกันมาก คณะงิ้วที่มาแสดงอยู่ใต้ประกอบพิธีกินเจขึ้นเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า "กิ๋วอ๋องไต่เต" และ "ยกอ๋องซ่งเต" ปรากฏว่าโรคภัยไข้เจ็บได้หมดไป ชาวเมืองเกิดศรัทธาจึงประกอบพิธีกินเจในเดือน 9 รวม 9 วัน 9 คืนทุกปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสีสันของงานที่นักท่องเที่ยวสนใจเป็นพิเศษคือการแสดงอิทธิฤทธิ์ของบรรดาม้าทรงเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งลุยไฟ ทั้งใช้ของแหลมทิ่มแทงร่างกายโดยไม่เจ็บปวด
อันดับ 10 กิจกรรมพายคายักล่องทะเล ป่าชายเลน
กิจกรรมพายคายักเป็นรูปแบบหนึ่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงที่จังหวัดกระบี่ เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะได้สนุกสนานกับการล่องเรือไปท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าโกงกางซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด เช่น นก ลิงแสม และเป็นแหล่มอนุบาลตัวอ่อนของพันธุ์สัตว์น้ำนานาพันธุ์ เพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์อันน่าตื่นตาของเทือกเขาหินปูนทั้งสองฟากฝั่ง ก่อนออกสู่ทะเลกว้างโต้คลื่นลมเป็นการเดินทางด้วยพละกำลังจากสองแรงแขนของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติรอบข้างอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น