การเพาะเลี้ยงปลาทอง
| |
รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ ** | |
1 ประวัติของปลาทอง2 การจำแนกทางอนุกรมวิธาน 3 ลักษณะรูปร่างของปลาทอง 4 ลักษณะพันธุ์ของปลาทอง 5 การจำแนกเพศปลาทอง 6 วิธีการเพาะปลาทอง 7 การฟักไข่ปลาทอง 8 การอนุบาลลูกปลาทอง 9 การเลี้ยงปลาทอง 10 ชนิดปลาที่ดำเนินการ เพาะพันธุ์เช่นเดียวกับปลาทอง | ปลาทองหรือปลาเงินปลาทอง มีชื่อสามัญว่า Goldfish เป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงมานานแล้ว จัดเป็นปลาที่ติดตลาด คือเป็นปลาที่มีจำหน่ายในร้านขายปลาสวยงามทุกร้านและสามารถขายได้ราคาดีตลอดปี โดยทั่วไปจัดว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ซึ่งชาวจีนจะเรียกปลาทองที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติว่า Chi Yu และเรียกปลาทองที่เลี้ยงอยู่ตามบ้านว่า Chin Chi Yu ในประเทศญี่ปุ่น ปลาทองได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก และมีการพัฒนาวิธีการเพาะพันธุ์มีการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นต่างๆมาผสมพันธุ์กัน ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะสวยงามขึ้นมาหลายชนิด และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ
ชาวจีนเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงปลาทอง โดยปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมไม่มีความสวยงามมากนัก มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาไน เพียงแต่ว่ามีสีสันสวยงามและสดกว่าปลาไน
.
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะปลาทองพันธุ์ดั้งเดิม (Wild Type)
ที่มา : Coffey (1977)
การเลี้ยงปลาทองได้รับความนิยมมากในระหว่างปี พ.ศ. 1243 - 1343 โดยชาวจีนในสมัยนั้นนิยมเลี้ยงปลาทองไว้ในสระน้ำในบริเวณรั้วบ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 1716 - 1780 มีการนำปลาทองมาเลี้ยงในกรุงปักกิ่ง โดยนิยมเลี้ยงในอ่างกระเบื้องเคลือบ การเลี้ยงปลาทองเพื่อการจำหน่ายจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการเพาะพันธุ์ปลาทองและได้พันธุ์ปลาแปลกๆมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2043 จึงมีการนำปลาทองเข้าไปเลี้ยงในเมืองซาไกประเทศญี่ปุ่น แต่ได้รับความสนใจมากในปี พ.ศ. 2230 สำหรับประเทศอื่นๆที่มีรายงานเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาทองได้แก่
ปี พ.ศ. 2234 ที่ประเทศอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2323 ที่ประเทศฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 2419 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับในประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าราวปี พ.ศ. 1911 - 2031
ภาพที่ 2 ลักษณะปลาทองที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ในระยะแรกๆ(Common Goldfish)
ที่มา : Bailey and Sandford (2000)
Frank (1969) ได้จัดลำดับชั้นของปลาทองไว้ดังนี้
Class : Osteichthyes
Subclass : Teleostei
Order : Cypriniformes
Suborder : Cyprinoidei (Carps)
Family : Cyprinidae
Genus : Carassius
Species : auratus
. 3 ลักษณะรูปร่างของปลาทอง ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในธรรมชาตินั้น มีรูปร่างคล้ายปลาไนแต่มีขนาดเล็กกว่าปลาไนมาก คือ เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก ีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือสีส้ม ส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว หรือสีขาว เนื่องจากมีการนำปลาทองไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ประกอบกับเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กับปลาในกลุ่มเดียวกันชนิดอื่นๆได้ง่าย ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองชนิดใหม่ๆออกมาหลายชนิด มีลักษณะเด่นสวยงามแตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะเด่นๆที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่
.
ภาพที่ 3 แสดงส่วนต่างๆและรูปร่างของปลาทอง
.
ภาพที่ 4 แสดงลักษณะปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ใหม่
ที่มา : Free-pet-wallpapers.com (2012) (ซ้าย) .
Bailey and Sandford (2000) (ขวา)
จากการที่มีการพัฒนาทางด้านการเพาะพันธุ์ มีการคัดเลือกลักษณะเด่นที่ต้องการ แล้วนำมาเพาะพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆ ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะและสีสันสวยงามหลายแบบด้วยกัน และมีการตั้งชื่อพันธุ์ต่างๆไว้ดังนี้
4.1 ปลาทองที่มีหางเดี่ยว อาจเรียกหางปลาทู หรือหางแฉก (Fork Tail) ลักษณะหางเป็นแผ่นแบนกว้าง เว้าตรงกลางหรือเป็น 2 แฉก มีสายพันธุ์ที่นิยม 2 สายพันธุ์ คือ
4.1.1 พันธุ์โคเมท (Comet) เป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิม หรือต้นตระกูลของปลาทอง ลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนยาวคล้ายปลาไน ลำตัวมักมีสีแดง สีแดงสลับขาว หรือสีทอง ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม
.
ภาพที่ 5 แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์โคเมท
ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)
.
4.1.2 พันธุ์ชูบุงกิง (Shubunkin) ลักษณะคล้ายพันธุ์โคเมท แต่จะมีจุดประที่ลำตัวหลายสี เช่น สีแดง สีขาว สีม่วง สีส้ม และสีดำ เกล็ดจะค่อนข้างใส จัดเป็นปลาทองที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีสีเด่นหลายสี สดใส ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนและมีการตั้งชื่อไว้หลายชื่อ เช่น Speckled Goldfish , Harlequin Goldfish , Vermilion Goldfish หรือ Coronation fish
ภาพที่ 6 แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ชูบุงกิง
ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)
.
4.2 ปลาทองที่มีหางคู่ คือมีส่วนหางแยกออกเป็น 3 - 4 แฉก มีทั้งที่มีครีบหลังตามปกติ หรือบางชนิดไม่มีครีบหลัง มีที่ได้รับความนิยมหลายสายพันธุ์ ดังนี้
4.2.1 พันธุ์ออแรนดา (Oranda) สมัยก่อนมักเรียกฮอลันดา หรือฮอลันดาหัวแดง ลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว มีครีบครบทุกครีบ หางยาว และมีลักษณะเด่นคือมีวุ้นที่ส่วนหัว (Hood) คล้ายพันธุ์หัวสิงห์ แต่มักไม่ขยายใหญ่เท่าหัวสิงห์ สีของวุ้นมักออกเป็นสีเหลืองส้ม เป็นปลาทองที่มีขนาดใหญ่ และมีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง สีของลำตัวมักออกสีขาวเงิน ชาวญี่ปุ่นเรียก Oranda Shishigashira
. |
วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น